โครงการพ ฒนาบ คลากรประจ าป 2555 การส มมนาเช งปฏ บ ต การ เร อง การเสร มสร างค าน ยมของส าน กหอสม ดกลาง ระหว างว นท 7-8 พฤษภาคม 2555

February 12, 2017 | Author: ฉลวย เก่งงาน | Category: N/A
Share Embed Donate


Short Description

Download โครงการพ ฒนาบ คลากรประจ าป 2555 การส มมนาเช งปฏ บ ต การ เร อง การเสร มสร างค าน ยมของส าน กหอสม ดกลาง ระหว างว ...

Description

โครงการพัฒนาบุคลากรประจําปี 2555 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างค่านิยมของสํานักหอสมุดกลาง” ระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมลมทะเลชาเลต์ (แหลมแม่พิมพ์) อําเภอแกลง จังหวัดระยอง                          

สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คํานํา ตามที่สํานักหอสมุดกลาง ได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากร ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเสริมค่านิยมของสํานักหอสมุดกลาง เพื่อให้บุคลากร ได้รับรู้ค่านิยมของสํานักหอสมุดกลาง และมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างค่านิยมในงาน สามารถ นํามาใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้บุคลากร ได้ร่วมกันทํางานเป็นทีม มีการวางแผนงาน มีความรักสามัคคี

สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รายงานโครงการพัฒนาบุคลากรประจําปี 2555 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างค่านิยมของสํานักหอสมุดกลาง” ระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมลมทะเลชาเลต์ (แหลมแม่พิมพ์) อําเภอแกลง จังหวัดระยอง เวลา 12.00 น อาจารย์ สาโรช เมาลานนท์ ผู้อํานวยการสํานักหอสมุดกลาง กล่าวเปิดงาน ผู้อํานวยการได้กล่าวถึงการเดินทางจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่เวลา 06.45 โดยมีที ม ผู้บริ ห าร คณะกรรมการฯ บุ ค ลากรสํ า นัก หอสมุด กลาง และ หอสมุ ด มศว องครั กษ์ ห้ องสมุ ดคณะ แพทยศาสตร์ รวมทั้งหมด 107 คน ประกอบด้วย บรรณารักษ์ 37 คน ในช่วงแรก ผู้อํานวยการสํานักหอสมุดกลาง ได้ให้บุคลากรใหม่ แนะนําตัว จํานวน 8 คน - อ.ดร.วราภรณ์ วิยานนท์ รองผู้อํานวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ - นายณัฏฐพล นาคบัวแก้ว นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สังกัดสํานักหอสมุดกลาง - นางสาวศิวพร ชาติประสพ บรรณารักษ์ สังกัดสํานักหอสมุดกลาง - นายสุรชัย หาบ้านแท่น ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดสํานักหอสมุดกลาง - นายโสภณ ผิวแดง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร สังกัดสํานักหอสมุดกลาง - นางสาวสุพักต์ ศิริบ่อแก บรรณารักษ์ สังกัดหอสมุด มศว องครักษ์ - นางสาวยุภาภรณ์ ไชยสงค์ บรรณารักษ์ สังกัดหอสมุด มศว องครักษ์ - นางสาวพิมลพรรรณ มูลเจริญ ผู้ปฏิบัติงาน สังกัดหอสมุด มศว องครักษ์ ผู้อํานวยการได้ กล่าวถึงสิ่งสําคัญของหน่วยงานคือ การไว้เนื้อเชื่อใจกัน ความเชื่อถือซึ่งกันและ กัน ความเป็นหนึ่งเดียว และมีความเคารพกัน ซึ่งสิ่งดังกล่าว เกี่ยวพันเรื่องที่พูด กล่าวคือปัจจุบันเราอยู่ ในช่วงของ ศตวรรษที่ 21 ที่มีการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นิสิตเรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมได้กล่าวถึงหนังสือ ชื่อเรื่อง ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 = 21st century skills: rethinking how students learn โดย James Bellanca และ Ron Brandt, บรรณาธิการ; วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์, แปล. ในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึง ทักษะของมนุษย์ มี 5 ด้าน 1. จิตเชี่ยวชาญ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาการ 2. จิตวิเคราะห์ สามารถวิเคราะห์เรียนรู้ด้วยตนเอง 3. จิตสร้างสรรค์ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 4. จิตเคารพ มีความเคารพในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน 5. จิตจริยธรรม ทําในสิ่งที่ถูกที่ควร ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และผู้อํานวยการได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในการมองให้ประสบความสําเร็จ มองให้ลึก คือ เวลาที่เรามองอะไร อย่าเชื่อในสิ่งที่ตาเห็น เราต้องมองให้ลึกไปกว่านั้น และอย่าไปติดอยู่แค่ภาพลักษณ์ภายนอกของสิ่งต่างๆที่เราเห็น มองให้ไกล&กว้าง คือ การมองในทุกทิศทุกทาง ไม่ได้มองเฉพาะในองค์กรของเราหรือตัว เราเท่านั้น หรือจุดหนึ่งจุดใด หากแต่มองความก้าวหน้าและความเป็นไปในอนาคตด้วย มองต่าง คือ เป็นของจินตนาการ การมองต่าง เป็นการมองอย่างสร้างสรรค์ มองให้ผ่าน คือ การมองที่มีการคิดวิเคราะห์และสามารถเข้าใจได้

และสุดท้าย ผู้อํานวยการ ได้กล่าวถึง งบประมาณในด้านต่าง ๆ ของสํานักหอสมุดกลาง และการ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญ เพื่อให้นิสิตใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าด้วยด้วยตนเอง รวมทั้งการ นําบทสรุปของการอบรม การศึกษาดูงานของบุคลากร นําไปจัดเก็บและเผยแพร่ให้ทราบทั่วถึงกัน ในช่วงที่สอง นางวนิดา วงศ์วัฒนะ รองผู้อํานวยการสํานักหอสมุดกลาง ฝ่ายวิชาการและแผน ได้กล่าวถึงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างค่านิยมของสํานักหอสมุดกลาง” ในครั้งนี้ว่า เป็นกิจกรรมที่จะให้งานแต่ละงานได้พูดคุยกันถึงเรื่องของ WE และ 3S โดยให้กลุ่มงานต่างๆ พูดคุยกันประมาณ 1 ชั่วโมง ได้สรุปประเด็นสําคัญ ดังนี้ 1. สํานักงานผู้อํานวยการ ในกลุ่มงานสํานักงานผู้อํานวยการ ได้กล่าวถึงเทคนิค 3S ดังนี้ Start -การจัดทําคู่มือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ ฝ่าย งานต่างๆ มีส่วนร่วมและได้รับทราบ ถึงระเบียบหรือข้อมูลที่ถูกต้องในด้านต่างๆ เช่น คู่มือในการเบิกเงิน ในโครงการต่างๆ Stop -หยุดสิ่งที่ไม่ควรทํา คือ การทํางานที่ไม่ตรงตามตําแหน่งงาน หรือหน้าที่ และการ ปฏิบัติงานที่เสร็จภายในบุคคลคนเดียว Stay -ทํางานให้ทีดีอยู่แล้วให้ดีขึ้น รวดเร็ว รวมทั้งมีประสิทธิภาพ เช่น การติดต่อการ ประสานงานการให้ข้อมูลต่างๆ แก่ ฝ่าย งานต่างๆ ภายในหน่วยงาน หรือภายนอกหน่วยงาน 2. งานบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ในงานบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ได้แบ่งกลุ่มงาน ออกเป็นกลุ่มงานดังนี้ 2.1 กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งกลุ่มงานพัฒนาฯ ได้กล่าวถึงเทคนิค 3S ดังนี้ Start จากปัญหาที่พบ คือ หนังสือจําหน่ายออกในภาคปกติ (ที่ไม่ใช่โครงการสํารวจ หนังสือประจําปี) เจ้าที่งานบริการจะเป็นผู้ช่วยดึงตัวเล่มโดยพิจาณาจากสภาพทั่วไปของหนังสือ เช่น ปก ชํารุด ตัวเล่มมีบนชั้นหลายระบับ (Copy) ซึ่งยังไม่มีการตรวจสอบจากฐานข้อมูล เช่น สถิติการใช้ เมื่อนํามา ตรวจสอบรายการแล้ว อาจต้องนําส่งคืนชั้นบริการเป็นจํานวนหลายชื่อเรื่อง ในมุมมองของกลุ่มงานพัฒนา ทรัพยากรฯ จึงขอเสนอให้งานบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ตั้งทีมบรรณารักษ์ลงไปดูแล Collection ทางด้านศึกษาศาสตร์ Collection ทางด้านกีฬา เป็นต้น โดยบรรณารักษ์แต่ละทีม อาจลงไปสํารวจหนังสือ โดยกําหนดเป็นตารางสํารวจหนังสือและไปดึงตัวเล่มส่งมาให้กลุ่มงานพัฒนาฯ พิจารณาจําหน่ายออกต่อไป Stop ปัญหาที่พบในงานจําหน่ายออกหนังสือคือ การเปลี่ยนสถานะ (Status) ของ Collection เป็น Mending หรือ Staff use ส่งผลกับงานบริการผู้ใช้ ทําให้ไม่ทราบว่าตัวเล่มของหนังสืออยู่ที่ไหน จึงเห็นว่า น่าจะกําหนด Collection เฉพาะให้กับหนังสือที่รอพิจารณาจําหน่ายออก (ที่ไม่ใช่ Weeding Stay ยังคงให้งานดําเนินตาม Workflow 2.1 งานซ่อม ซึ่งกลุ่มงานซ่อม ได้กล่าวถึงเทคนิค 3S ดังนี้ Start คือ เป็นการเปลี่ยนจากการซ่อมหนังสือชํารุดเป็นการเข้าเล่มแบบหุ้มปกแข็ง สาเหตุ ที่เริ่มขั้นตอนนี้เพราะเป็นการช่วยลดขั้นตอนในการทํางานและลดค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุงานซ่อม Stop คือ งานซ่อมหยุดขั้นตอนการเข้าปกแข็ง หยุดขั้นตอนการติดขอบหนังสือ และ การตัดมุมปกหนังสือ สาเหตุเนื่องจากการซ่อมหนังสือชํารุดมีเยอะ จึงจําเป็นต้องลดขั้นตอนการทํางานและลด วัสดุ Stay คือ ยังคงติดใบรองปก เจาะเย็บ ทากาวใบรองปก พิมพ์หน้าปก และติดปกอ่อน สาเหตุที่ คงไว้เพราะเป็นขั้นตอนที่มีความจําเป็น เพื่อช่วยให้หนังสือมีความแข็งแรงและสวยงาม 2.3 งานสร้างฐานข้อมูล

งานสร้างฐานข้อมูลได้กล่าวถึงเทคนิคของ 3S Start -มีการจัดลําดับงานให้ชัดเจน มีการแบ่งกลุ่มการทํางาน มีการยืดหยุ่นของงาน Stay -ความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล มีการตรวจและแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูล อย่างต่อเนื่อง Stop -หยุดความซ้ําซ้อนของข้อมูล รายการบรรณานุกรมซ้ํา 2.4 งานวิเคราะห์ฯ Start -เพิ่มความรอบคอบในการทํางานให้มากขึ้น มีการตรวจสอบทุกขั้นตอน มีการพูดคุยถึง ปัญหาในการทํางาน เช่น การทํา Morning Talk ทุกวันจันทร์ มีการสรุปรายงานที่เห็นว่าเป็นข้อควรพิจารณาใน การทํางาน Stop -หยุดความซ้ําซ้อนและข้อผิดพลาด ทั้งระเบียน รายการหลัก ที่ทําให้ผู้ใช้สับสน Stay -ความถูกต้องของฐานข้อมูล เช่น ความถูกต้องของเลขเรียก Collection ขอหนังสือ Call Type และที่สําคัญมากที่สุดก็คือ การพิมพ์หัวเรื่อง หรือรายการหลัก ลงในฐานข้อมูล ต้องมีการ Control B ทุกครั้ง เพื่อเชื่อมโยงไปยังรายการที่ถูกต้อง 2.5 งานปริญญานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ในการทําปริญญานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้เทคนิค 3S ดังนี้ Start -ตรวจสอบและเผยแพร่ปริญญานิพนธ์ฉบับเต็ม และทําให้รวดเร็วที่สุด -แก้ไข Link 856 Stop -หยุดความซ้ําซ้อนหรือข้อผิดพลาดของข้อมูล หรือรายการข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ Stay -มีการตรวจสอบความถูกต้อง การ Update ข้อมูล และการ Link ใน Tag 856 เพื่อไม่ให้ มี Dead Link รวมทั้ง ประสานงาน แก้ไขปัญหาที่จัดเก็บกับบัณฑิตวิทยาลัยและในบางกรณีที่ติดต่อกับเจ้าของ ผลงานโดยตรง 3. งานวารสาร งานวารสาร ได้กล่าวถึงเทคนิค 3S ว่า Start - ในกรณีนี้ขอกล่าวถึง งานดรรชนีวารสาร ที่ต้องเป้าหมายไว้ที่ 8 บทความต่อวัน จะเริ่มพัฒนาให้ได้มากกว่า 8 บทความ เป็น 10-12 บทความต่อวัน และเพิ่มความถูกต้องของการให้หัว เรื่องและการพิมพ์ให้มากขึ้น Stop - ลดการทําเสียงดังรบกวนผู้ใช้บริการ ในขั้นตอนประทับตราวารสาร หรือการนํา วารสารฉบับปัจจุบันขึ้นชั้นซึ่งจะช่ วยถนอมวารสารไม่ใ ห้ ชํารุดง่ายด้วย นอกจากนี้รถเข็ นที่มีเสียงดัง ตรวจสอบ และส่งซ่อมให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งานเสมอ Stay - งานเตรียมหนังสือพิมพ์ออกให้บริการตอนเช้าก่อนเวลา 08.00 น. เป็นงานที่ ปฏิบัติดีอยู่แล้ว จะคงไว้ 4. งานบริการทรัพยากรสารสนเทศ งานบริการทรัพยากรสารสนเทศ ได้สรุปถึง เทคนิค 3S Start เรื่องที่จะทําเพิ่มขึ้น -คู่มือการปฏิบัติตนของผู้ใช้บริการตามระเบียบของห้องสมุดที่ชัดเจน -ช่องทางพิเศษเพื่อการคืนหนังสืออย่างเดียว -มีเครื่องกั้นทางออกเพื่อให้ตรวจผู้ใช้บริการอย่างทั่วถึง

-มีเครื่องสแกนบัตรผู้ใช้บริการเพื่อการคัดกรองสมาชิก -มีโครงการร่วมกันของทุกงานในการติดแถบแม่เหล็กให้กับหนังสือทุกเล่ม -คัดหนังสือที่ไม่มีการใช้ออกจากชั้น -จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อการจัดวางเอกสารแจกฟรี -ลงบันทึก “จบการศึกษา งดยืม” ให้กับนิสิตที่แจ้งจบทุกราย Stop เรื่องที่ต้องการหยุดทํา -ยกเลิกพื้นที่การใช้เสียง -ยกเลิกแจกเอกสารฟรีที่ทางเข้าออก Stay เรื่องควรทําต่อไป -เก็บค่าธรรมเนียมการเข้าใช้ของบุคคลภายนอก -เครื่องตรวจสัญญาณแม่เหล็ก -ติดแถบสัญลักษณ์ ปริญญานิพนธ์ 5. งานเทคโนโลยีการศึกษา งานเทคโนโลยีการศึกษา ได้สรุปว่า WE คือ W - Will ความตั้งใจแน่วแน่ให้บริการ มีด้วยกัน 2 ข้อคือ การให้บริการ -ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส -กล่าวคําทักทาย -พูดจาสุภาพ -ยินดีให้คําแนะนํา -ดูแลอย่างใกล้ชิด -แต่งกายให้ดูสภุ าพ สวยงาม -มีมนุษยสัมพันธ์ การทํางานในหน้าที่ -ทํางานให้เสร็จลุล่วง มีคุณภาพ และทันตามเวลาที่กําหนด -มีการลําดับความสําคัญของงาน พิจารณาความเร่งด่วน -พิจารณาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น -มีการพัฒนาตนเอง โดยการหาเทคนิคและวิธีการทํางานใหม่ E - Empathy ความเอาใจใส่ให้บริการ จากความตั้งใจที่เรากําหนดไว้ เราจะต้องบริการให้ดี เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจใน การบริการที่ได้ตั้งใจไว้ (ปฏิบัติงานได้ตามที่ตั้งใจไว้ ในข้อที่ 1 ถ้าปฏิบัติได้ตามความตั้งใจในข้อ 1 ได้ แสดงว่า มีความเอาใจใส่) 6. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้สรุปว่า WE คือ W - Will ความตั้งใจแน่วแน่ให้บริการ คือ ตั้งใจให้บริการระบบเทคโนโลยี สารสนเทศของสํานักหอสมุดกลางให้ใช้งานได้ตลอดเวลา (7 วัน × 24 ชั่วโมง)

E - Empathy ความเอาใจใส่ให้บริการ คือ การดูแลระบบทุกวันตาม ตารางที่กําหนด และการป้องกันความเสี่ยงของข้อมูล (Back up ข้อมูลห้องสมุด) เทคนิค 3 S Start - งานเทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดทํา KM เรื่องการลบไฟล์ขยะ ที่เกิดจากการใช้ อินเทอร์เน็ตให้ครบทุกงาน - ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลแก่บุคลากรของสํานักหอสมุดกลาง Stop - บุคลากรของงานเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องงดการประชุม, สัมมนา หรือ ลา พร้อม กัน เพื่อจะ ได้ให้บริการตลอด Stay - ให้คําปรึกษานอกเวลาราชการโดยใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด - มีความสุขในการให้บริการ - ให้คําปรึกษาด้าน IT อย่างเป็นกันเอง - ให้บริการด้วยความเสมอภาค - นําความรู้ด้าน System analysis เพื่อพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของคนในองค์กร 7. หอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ หอสมุด มศว องครักษ์ ได้กล่าวเทคนิค 3S โดยรวม ดังนี้ Start -งานบริการยืม-คืน พิมพ์วันกําหนดส่งแนบทับตัวเล่มแต่ละเล่ม -ประทับตราข้อความ “หนังสือยืมระหว่างหน่วยงาน” ในใบกําหนดส่ง พร้อมทั้งเขียน หมายเลขแบบฟอร์ม กรณียืมไม่ได้ ให้พิมพ์ข้อความในฐานข้อมูล ผู้ใช้บริการจะได้ทราบเหตุผลที่ไม่สามารถยืม ได้/ลงชื่อผู้ดําเนินการ -เขียนรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม นําส่งหนังสือยืมระหว่างห้องสมุด -มั ด หนั ง สื อ พร้ อ มแนบสํ า เนาแบบฟอร์ ม นํ า หนั ง สื อ บรรจุ ใ ส่ ก ระเป๋ า ใส่ กุ ญ แจ เขี ย น แบบฟอร์มกระเป๋า (ระบุหมายเลขกระเป๋าทุกใบที่ส่ง เรียงตามลําดับจากน้อยไปหามาก) พร้อมส่งไปกับรถตู้ เที่ยว 13.00 น -เขียนแบบฟอร์มตรวจสอบกระเป๋าการรับส่งกระเป๋า ประจําวัน*** โดยต้องมีรายละเอียด ครบถ้ว นดั งนี้ (ลายมื อชื่ อ คนขั บ รถ ผู้ โ ทรแจ้ง ผู้รั บ แจ้ง ในเวลา 16.30 น. เวรเคาน์ เ ตอร์ ต้ อ งตรวจสอบ รายละเอียดในแบบฟอร์มให้คบถ้วน) -ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม เพื่อเก็บสถิติการขอใช้บริการ -ติดตามและการแจ้งเตือนภาระหนี้สิน Stop - (ไม่มี) Stay -เวรเคาน์เตอร์ชั้น 1 เปิด e-mail เมื่อได้รับโทรศัพท์จากงานบริการจากสํานักหอสมุดกลาง -ตอบกลับ e-mail หรือโทรศัพท์ และส่ง e-mail ให้กับเวรประกันดําเนินการ 8. ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ได้กล่าวถึง เทคนิค 3S ว่า Start คือ การให้บริการ Self Check และเปิดให้บริการในอาคารคณะแพทยศาสตร์ ชั้น 1, 2 Stop คือ หยุดให้บริการ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ Stay คือ ยังคงให้บริการ ยืม-คืน และให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลข้อมูลพร้อมให้บริการอบรม การสืบค้นฐานข้อมูล *********************

รายชื่อบุคลากรในกิจกรรมกีฬาสี ที่

สีขาว

ที่

สีฟ้า

ที่

สีส้ม

ที่

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24

ผู้อํานวยการ กรรณิการ์ ชาวบ้านเกาะ ดวงพร ผลมาก ปภาดา น้อยคํายาง จุฑาทิพย์ สุระประจิต นาฏยา โชติกกะพุกกณะ พัฒนา จัตวานิล จารุวรรณ ชูศรี จํารูญ เลียบใย สุภาพรรณ กาญจนวงศ์ อัญชลี มุสิกมาศ สวลักษณ์ ทองคํา จรัสโฉม ศิริรัตน์ ณัฐฏพล นาคบัวแก้ว ประจงจิตต์ อุมะวิชนี ปิยะรักษ์ หอมหวน โสภณ ผิวแดง จักรกริช รอดพุฒ จิรัญชา สีใส ธนภร พึ่งพาพงศ์ พิมหฤทัย ศรีมงคล น้ําเงิน เฉลียวพจน์ ภูริวัฒน์ ราโรจน์ อมรรัตน์ ทรงสมบัติ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24

พิมล เมฆสวัสดิ์ จงกล พุกพูน ธิราภรณ์ มณีย้อย เปี่ยมสุข ทุ่งกาวี รัตนาพร สงวนประสาทพร เชิดชาติ พุกพูน ปัทมาพร ยุวพรพงษ์กุล จรีรัตน์ เจริญรักษ์ จิตตินันท์ พรมสุวรรณ์ ปณิสรา แก้วมณี สุพินยา ศรีกุล พงษ์ศักดิ์ เอกนาม อรุณรัตน์ พุกพญา จักรกฤษ เปมะวิภาต เดชณรงค์ อมเพชร ปริวัฏ ศิริรัตน์ วนิดา พูลสวัสดิ์ อภิเดช จันทร์ศิริ วิมล พุมมา ชัชชภา ประทุมศรีขจร ทัศนีญา สุขประเสริฐ พิมลพรรณ มูลเจริญ ศุภลักษณ์ ผลแก้ว สุพักต์ ศิริบ่อแก

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24

วนิดา วงศ์วัฒนะ บุญสม เล้าพูนพิทยะ ณัฐธยาน์ ไกรลาสสุวรรณ มาลินี ภูหมั่นเพียร สมพิศ พรวิริยกุล ละออ ไวยมานะกิจ อัญชลี ตุ้มทอง ธนภัทร ศรีถาพร เนตรนภิส จิรประไพรวัลย์ ประภัสสร แสนบัว บังอร สระทองแก่น อุมาพร นาคะวัจนะ กิตติศักดิ์ ก้าวกระโทก นัยรัตน์ เรืองวชิรารัตน์ ยมนา ปริอาราม สันติ เกษมพันธุ์ สามารถ พุกพญา ศิริพรรณ ตันติวัชระประกาย เจียม จันทร์แบน ยุภาภรณ์ ไชยสงค์ ยุพิน ฤทธิ์ช่วยรอด พรชนก ชื่นประทุม หทัยรัตน์ ธีรกุล เอื้องฟ้า แป้นแก้ว

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24

สีม่วง พรพิมล แสนเสน่ห์ สุประภา ศรีทอง นภพรรษ สุดปาน มัณฑนา เจริญแพทย์ สุปิยา ศรีกัลยา อัมพร ขาวบาง ศิวพร ชาติประสบ จรุงวัฒน์ พูลสวัสดิ์ สมทรง แสงอุทัย สิริกาญจน์ พุกพูน กานดา แซ่ลิ้ม วรุณพรรณ พองพรม เกียรติศักดิ์ หงษ์อินทร์ ชมนิศา ทองเลิศ บงกชรัตน์ อุดสัย พิลาสพล พิพัฒน์เขมากร เสกสรร สําสู อรัญญา ฟักอ่อน สุรชัย หาบ้านแท่น จันทิรา จีนะวงศ์ สุจิตรา รัตนสิน สําราญ จําปาทอง สุนทร พุ่มพวง อนงค์ คิดชอบ

โครงการพัฒนาบุคลากร ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 การสัมมนาประจําปี ------------------------------------ความเป็นมา ตามที่สํานักหอสมุดกลาง กําหนดจะจัดโครงการพัฒนาบุคลากร (การสัมมนาบุคลากรประจําปี) นั้น ผู้บริหารได้มอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายจัดกิจกรรม ดําเนินการวางแผนและกําหนดรูปแบบของกิจกรรม และสันทนาการ ในครั้งนี้ หลังจากที่ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการจัดกิจกรรมและสันทนาการ คณะกรรมการได้ประชุม ปรึกษาหารือเพื่อเตรียมความพร้อมและหาขอสรุปของรูปแบบการจัดกิจกรรม มติที่ประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการฝ่ายจัดกิจกรรมมีมติว่า จะจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาสีและสันทนาการ โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. มีการแบ่งบุคลากรของสํานักหอสมุดกลางทัง้ หมด ออกเป็นกลุ่มสี มีทั้งหมด 4 สี คือสีขาว สี ฟ้า สีส้ม และสีม่วง โดยมีผู้บริหารเป็นหัวหน้าสีแต่ละสี 2. กําหนดเกมกีฬาการแข่งขัน ออกเป็น 3 ประเภท 2.1 วิ่งวิบาก (วิ่งผลัดผสม) ประกอบด้วยเกมเรือบก เกมหนีบลูกโป่ง เกมวิ่งกะลา และเกมวิ่งกระสอบ 2.2 แย้ลงรู 2.3 ชักเย่อ 3. กิจกรรมสันทนาการในช่วงเย็น 3.1 กําหนดกิจกรรมการแข่งขันร้องเพลง ประเภทหญิงเดี่ยว 3.2 กําหนดกิจกรรมการแข่งขันร้องเพลง ประเภทชายเดี่ยว 3.3 กําหนดกิจกรรมการแข่งขันร้องเพลง ประเภททีม 4. มีการแบ่งงานแต่ละประเภท และมอบหมายให้คณะกรรมการแต่ละคนรับผิดชอบในส่วนนั้นๆ สรุปผลการแข่งขันกิจกรรมกีฬาสี 1. วิ่งวิบาก (วิ่งผลัดผสม) รางวัลชนะเลิศ คือ สีม่วง 2. แย้ลงรู รางวัลชนะเลิศรอบที่ 1 คือ สีขาว รางวัลชนะเลิศรอบที่ 2 คือ สีม่วง รางวัลชนะเลิศรอบที่ 3 คือ สีส้ม 3. ชักเย่อ รางวัลที่ 1 คือ สีม่วง รางวัลที่ 2 คือ สีส้ม รางวัลที่ 3(ร่วม) คือ สีฟ้าและสีสีขาว 4. รางวัลประเภททีม รางวัลTeam Work คือ สีฟา้ รางวัลกองเชียร์ คือ สีสม้ รางวัลความทุ่มเท คือ สีขาว

ปัญหาและอุปสรรคและแนวทางแก้ไข 1. ปัญหาและอุปสรรค คณะกรรมการฯ ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการจัดกิจกรรมและสันทนาการ จึงมุ่งเน้นและ รับผิดชอบเฉพาะกิจกรรมและสันทนาการเท่านั้น โดยมิได้คํานึงถึงส่วนของพิธีการในที่ประชุม และเรื่องของสถานที่ แต่เมื่อถึงสถานที่และเริ่มการสัมมนา กลับมีคําถามมากมายจากบุคลากรชาว สํานักหอสมุดกลาง ที่นอกเหนือจากส่วนที่คณะกรรมการต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ กําหนดการและพิธีการ ในส่วนของอาคารสถานที่ ซึ่งคณะกรรมการก็ต้องควบคุมดูแลในส่วนนี้ เพื่อให้การดําเนินงานดําเนินต่อไป จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีความวุ่นวายและข้อผิดพลาดในส่วน นี้เกิดขึ้น แนวทางแก้ไข การแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานควรกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ด้วยในคําสั่ง แต่งตั้งและมีคณะกรรมการให้ครบทุกกิจกรรม เช่น ควรเพิ่มฝ่ายพิธีการด้วย ควรมีการประชุมคณะกรรมการดําเนินโครงการฯ ก่อนดําเนินโครงการเพื่อชี้แจง ทําความ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละชุด และประชุมหลังดําเนินโครงการเพื่อสรุปผล โครงการ พร้อมปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดําเนินงานครั้งต่อไป 2. ปัญหาและอุปสรรค สถานที่ในการแข่งขันกีฬาไม่เอื้ออํานวยเท่าที่ควร เนื่องจากน้ําทะเลหนุนเร็วมาก ทําให้ พื้นที่แคบลงอย่างไม่คาดคิด จึงทําให้รูปแบบของการแข่งขันกีฬาบางประเภทเปลี่ยนแปลงไป ซึ่ง น้ําเป็นอุปสรรคสําคัญในการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้ แนวทางแก้ไข ศึกษาสภาพแวดล้อมของสถานที่ในการจัดกิจกรรม หรือหาพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างมากกว่านี้ ข้อเสนอแนะ 1. เวลาในการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาสีควรมากกว่านี้ อาจจะเป็น ครึ่งวัน – 1 วัน 2. ควรเชิญคณะกรรมการจากหอสมุด มศว องครักษ์ มาเป็นคณะกรรมการด้วย เพื่อเป็นสร้าง ความเข้าใจและเป็นการสื่อสารให้ชาวหอสมุด มศว องครักษ์ ได้ตื่นตัวและรับรู้รูปแบบของ กิจกรรมมากกว่านี้ รูปแบบกิจกรรมในครั้งต่อไป 1. ควรเป็นกิจกรรม Walk Rally ผสมกับ กีฬาสี 2. ในส่วนของวิชาการอาจจะจัดที่สํานักหอสมุดกลาง โดยใช้เวลา 1 วัน และจัดกิจกรรมต่างๆ นอกสถานที่ อีก 1 วัน 3. แจ้งการแบ่งกลุ่มก่อนกําหนดไปประมาณ 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย เพื่อซักซ้อมและเตรียม ความพร้อม 4. สถานที่อาจเป็นบริเวณกว้าง เช่นเขาใหญ่ หรือทะเลแถบหัวหิน

ข้อดี 1. 2. 3. 4.

บุคลากรให้ความร่วมมือ และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ทุกกลุ่มสีมีความร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บุคลากรกล้าคิดกล้าแสดงออกมากขึ้น การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีเหตุการณ์และเรือ่ งราวมากมายเกิดขึ้นไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบ ซึ่ง เป็นตัวชี้วัดที่ดี เพื่อให้คณะกรรมการนํามาพัฒนาการดําเนินงานในครั้งต่อๆ ไป ให้ดียงิ่ ขึ้น 5. เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจของคณะกรรมการ ซึ่งแต่ละคนรับผิดชอบในงานของตัวเองได้เป็น อย่างดี ข้อเสีย 1. โดยภาพรวมของรีสอร์ท การบริการของเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร

สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาบุคลากรประจําปี 2555 เรื่อง การเสริมสร้างค่านิยมของสํานักหอสมุดกลาง วันที่ 7-8 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมลมทะเลชาเล่ห์ (แหลมแม่พิมพ์) จ.ระยอง ---------------------------------------------------------------------ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการฯ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้นจํานวน 100 คน ได้รับแบบประเมินกลับคืนจํานวน 72 ฉบับ (ร้อยละ 72.0) จําแนกตามหน่วยงานเป็นบุคลากรสํานักหอสมุดกลาง จํานวน 53 คน (ร้อยละ 73.61) หอสมุด มศว องครักษ์ จํานวน 17 คน (ร้อยละ 23.61) และห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ จํานวน 2 คน (ร้อยละ 2.78) จําแนกตามสถานะ เป็นข้าราชการ จํานวน 23 คน (ร้อยละ 31.94) ลูกจ้างประจํา จํานวน 2 คน (ร้อยละ 4.17) และพนักงาน มหาวิทยาลัย จํานวน 46 คน (ร้อยละ 63. 89) ประเมินผลโครงการฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.88) โดยมีความคิดเห็นในระดับมากสูงสุดคือ กิจกรรมสันทนาการ ( X = 4.31) รองลงมาคือ ความเข้าใจเรื่องค่านิยมในการทํางาน หลัง การอบรม ( X = 4.14) (ดังรายละเอียดในตาราง) ตาราง แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการฯ รายการประเมิน 1. การสร้างค่านิยม W E C A R E ในการทํางาน 2. การวิเคราะห์งานด้วย Work Flow โดยใช้ค่านิยมขององค์กรเป็นหลัก 3. ความเข้าใจเรื่องค่านิยมในการทํางาน ก่อนการอบรม 4. ความเข้าใจเรื่องค่านิยมในการทํางาน หลังการอบรม 5. กิจกรรมสันทนาการ 6. การอํานวยความสะดวกในการสัมมนา เช่น การเดินทาง/ที่พัก/อาหาร เป็นต้น 7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการสัมมนา รวมทั้งสิ้น

ระดับการ ประเมิน แปลผล S.D. X 3.75 0.69 มาก 3.76 0.76 มาก 3.25 0.80 ปานกลาง 4.14 0.63 มาก 4.31 0.72 มาก 3.33 1.36 มาก 4.14 0.81 มาก 3.88 0.64 มาก

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอ จํานวน 29 คน ความคิดเห็นดังกล่าว ได้แก่ กิจกรรมสันทนาการ 1. ขอชื่นชมทีมงานกิจกรรมนันทนาการที่เสียสละเวลาและระดมความคิดในการจัดกิจกรรม ทําให้กจิ กรรม สันทนาการจัดได้ดีมาก สนุก เหมาะสมทั้งกีฬาสี และกิจกรรมตอนเย็น ทําให้ทุกคนมีสว่ นร่วมอยู่กันจนเลิกงานและ พยายามมีส่วนร่วมเพื่อกลุ่มสีของตัวเอง (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 7 คน) 2. บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการทํากิจกรรมดีแต่มีบางส่วนยังไม่ให้ความร่วมมืออาจมาจากสาเหตุ การขาดการประชาสัมพันธ์ หรืออาจจะไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 4 คน) 3. เป็นโครงการที่ดีอยากให้จดั กิจกรรมอย่างนี้ทุกปี กิจกรรมปีนี้ไม่เครียด หลายคนทุ่มเทให้กิจกรรม เกิด ความสามัคคีดมี าก ทําให้บุคลากรมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 4 คน)

4. ควรแทรกเนื้อหาวิชาการในกิจกรรมสันทนาการ เพราะการแยกกิจกรรมมาอยู่โดดๆ แล้วทําให้เวลาในการ ทํากิจกรรมสันทนาการ และการพักผ่อนตามอัธยาศัยน้อยลง (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) 5. กิจกรรมสันทนาการ ควรนํากิจกรรมเบา ๆ เพื่อให้กลุม่ ผู้สูงอายุได้ร่วมด้วย (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) การอํานวยความสะดวก เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร 6. สถานทีจ่ ัดสัมมนาเลือกที่ได้ดี ที่พักสวย ติดทะเล บรรยากาศดี มีสถานที่เดินเล่นเป็นส่วนตัว มีมุมผ่อน คลายเยอะมาก (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 5 คน) 7. ที่พักไม่พร้อมที่จะให้เข้าพัก ไม่เรียบร้อย ไม่สะอาด ยุงเยอะ ห้องสกปรก เตียงนอนแคบ ห้องน้ําไม่สะดวก ในการอาบน้ํา ประตูเป็นห้องน้ํากระจก สิ่งแวดล้อมที่พักไม่ดี ห้องประชุมไม่พร้อม สถานที่ไม่พร้อม การต้อนรับจาก บริกรและเจ้าของสถานที่ไม่ดีเท่าที่ควร (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 5 คน) 8. กําหนดการต่างๆ ควรแจ้งให้ทราบล่วงหน้าหรือถ่ายเอกสารแจกตอนลงทะเบียน การดําเนินงานใน กิจกรรมไม่ชัดเจน ทราบเฉพาะคนหรือการสัมมนาควรชัดเจนมากกว่านี้ ควรแจกกําหนดการให้รับทราบก่อนเดินทาง ด้วยและแจ้งห้องพักก่อนการเดินทาง บอร์ด Work Flow ที่ติดตามผนังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 2 คน) 9. ขอให้ดําเนินการเกี่ยวกับรถเดินทางให้สะดวกกว่านี้ (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) 10. อาหารกลางวัน (วันแรก) ไม่พอรับประทาน อาหารไม่อร่อย (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) 11. ไม่ควรแยกกลุ่มหลายคันรถจะได้ประสานสัมพันธ์บนรถได้ (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) อื่น ๆ 12. การทําให้ค่านิยมคงอยู่ได้ทนนาน จะต้องมีการกระตุ้นเตือนอย่างสม่ําเสมอ ดังนั้น หน่วยงานจึงต้องมี วิธีการ แนวทางที่จะทําให้ค่านิยม WE ติดเข้าไปในจิตใจของบุคลากรทุกคน (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) 13. การจัดสัมมนาครั้งต่อไปพยายามเลี่ยงวันหยุดหลายวันเพราะไม่ต้องแย่งที่พักกับใครๆ และมีตัวเลือกที่ ดีกว่านี้ (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) 14. อยากให้จดั กิจกรรมอนุรกั ษ์สิ่งแวดล้อมบ้าง (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) 15. ควรมีกิจกรรมแวะชมสถานที่อื่น ๆ เช่นไหว้พระ เยี่ยมชมห้องสมุดอื่น ๆ เป็นต้น (ผู้แสดงความคิดเห็น จํานวน 1 คน) สรุปผลการประเมิน : คณะกรรมการฝ่ายประเมินผล: 15 พ.ค. 55

ภาคผนวก

การสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ การที่องค์กรหนึ่งๆจะบรรลุถงึ เป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กรได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงาน ของสมาชิกในองค์กรเป็นสําคัญ แม้ว่าการกําหนดลักษณะงานและเป้าหมายผลงานจะมีส่วนช่วยให้ พนักงานปฏิบัติให้เป็นไปตามผลทีค่ าดหวังได้ แต่หากมี “ตัวช่วย” ชี้แนะพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ของสมาชิกเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรก็จะทําให้องค์กรได้รับ ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงที่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานจะเบี่ยงเบนไป จากที่คาดหวังได้อีกทางหนึ่งด้วย การเสริมสร้าง “ค่านิยมร่วม” (Shared Values) เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่พึงประสงค์เป็น วิธีการหนึ่งในการปลูกฝังแนวประพฤติปฏิบัติที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในหมูพ่ นักงาน ค่านิยมร่วมนี้ยัง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ผูกพันกับองค์กร อีกทั้งทําให้พนักงานเกิดความชัดเจนว่าองค์กรคาดหวัง พฤติกรรมแบบใดจากตน และประเมินตนเองได้อย่างมั่นใจว่า เมื่อปฏิบัติตนตามนั้นแล้วย่อมส่งผลดี ต่อผลงานของตนและองค์กร แม้ว่ายังไม่ปรากฏในรายงานผลการปฏิบัติงานของช่วงเวลานั้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรประสบปัญหาว่า หลักการและค่านิยมที่หวังจะปลูกฝังส่งเสริมนั้นมิได้มี ความหมายในทางปฏิบัติ เป็นแต่เพียงคําพูดสวยหรูบนแผ่นกระดาษเท่านั้น บางองค์กรอาจได้ ดําเนินการหลายประการเพื่อปลูกฝังค่านิยมเหล่านั้น แต่กระทําเป็นครั้งคราวปราศจากการ วางแผน ผลทีไ่ ด้รับจึงอาจไม่ทั่วถึงหรือมีพลังเพียงพอ หรือบางองค์กรอาจได้ดําเนินการอย่าง สม่ําเสมอแต่ยงั ขาดการประเมินผล จึงยากจะตัดสินใจดําเนินการในขั้นต่อไป หลายองค์กรได้ ดําเนินการปลูกฝังค่านิยมทีพ่ ึงประสงค์อย่างต่อเนื่องแต่ขาดการบูรณาการเข้ากับระบบบริหารงาน บุคคล การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจึงขึ้นอยู่กับความถี่ของการรณรงค์ กลายเป็นภาระของหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบ แต่ไม่เกิดผลยั่งยืนเพราะยังไม่กลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติในการปฏิบัติงานของคน ในองค์กร ค่านิยมที่พึงประสงค์ การปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์จนเกิดผลเป็นการปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอทั้งองค์กร มีขั้นตอนพึง ดําเนินการดังนี้ กําหนดค่านิยมที่พึงประสงค์ ในการกําหนดค่านิยมที่พึงประสงค์จะต้องเริ่มด้วยการนําวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ขององค์กรมาเป็น ตัวตั้ง นอกจากนั้นยังต้องคํานึงถึงระบบงานและลักษณะเด่นของพนักงานในภาพรวม ค่านิยมที่ดีควร มีน้อยรายการ จําได้ง่าย และอยู่ในวิสัยทีพนักงานทุกคนจะปฏิบัติได้ในการทํางาน ค่านิยมแต่ละ รายการควรส่งเสริมซึ่งกันและกัน และเมื่อปฏิบัติแล้วจะส่งเสริมกลยุทธ์หลักขององค์กรด้วย กําหนดแผนกลยุทธ์เพื่อนําไปสู่ค่านิยมที่พึงประสงค์ การปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงต้องกําหนดแผนดําเนินงานใน

ภาพรวมและขั้นตอนต่างๆในการดําเนินงาน ซึ่งรวมทั้งการประชาสัมพันธ์ และการบูรณาการค่านิยม ที่พึงประสงค์เข้ากับระบบบริหารงานบุคคลอย่างครบวงจร รณรงค์และดําเนินการส่งเสริมค่านิยมที่พึงประสงค์ นําขั้นตอนต่างๆที่กําหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ไปดําเนินการ ตลอดจนจัดเวทีอภิปราย รับฟังความคิดเห็น และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรเข้าใจตรงกันว่า พฤติกรรมและวิธีปฏิบัติงานที่พึงประสงค์ ในบริบทเฉพาะของตําแหน่งงานของตนนั้นคืออย่างไร เพื่อพนักงานทุกคนจะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง ตามแนวทางที่คาดหวัง ประเมินผลการดําเนินงานเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ เพื่อวัดความคืบหน้า และประสิทธิภาพประสิทธิผลของการนําแผนกลยุทธ์ไปดําเนินการ อีกทั้งเพื่อให้ ได้ข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนาในสิ่งที่จะต้องดําเนินการเพิ่มเติม ตลอดจนปรับปรุงระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ ระบบบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบบประเมินผลงาน ฯลฯ เพื่อให้ระบบบริหารจัดการ ต่างๆภายในองค์กรสามารถสนับสนุนค่านิยมที่พึงประสงค์ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรเป้าหมายใน ทิศทางเดียวกัน ในทางปฏิบัติ การจะเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในพนักงานอย่างสม่ําเสมอ ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบ 3 ประการ คือ Value คือระดับของความรับรู้และความเห็นของสมาชิกในองค์กรว่า พฤติกรรม ตลอดจนวิธี ปฏิบัติงานนั้นๆเป็นสิ่งที่พึงกระทํา Skills คือระดับของความสามารถว่า พฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทําได้ไม่ยาก skills ในที่นี้มิได้ หมายความเพียงทักษะในการปฏิบัติของบุคคลเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงโอกาส ความยากง่าย และ เงื่อนไขในงานที่อาจเป็นอุปสรรคหรือเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นๆด้วย ในแง่ นี้ หากองค์กรปรับ “เงื่อนไข” ต่างๆในการปฏิบัติให้เอื้ออํานวย ทําให้พนักงานสามารถปฏิบัติได้ โดยง่ายก็จะช่วยเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมได้อีกทางหนึ่ง และ Motives คือแรงขับดันเบื้องลึกที่ทําให้บุคคลปรารถนาจะแสดงพฤติกรรมต่างๆโดย ธรรมชาติอันเป็นปรกติวิสัยของบุคคลนั้นๆ ในกรณีที่องค์กรได้ดําเนินการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ มาอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่การปฏิบัติยังไม่เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง อาจเป็นไปได้ว่าสมาชิกในองค์กรมิได้มี “motive” ในเรื่องดังกล่าวอยู่โดยธรรมชาติ หรือไม่มี “จุกแข็ง” ในเรื่องนั้น หากเป็นเช่นนี้ ทางแก้คอื องค์กรอาจจะพิจารณาหา “incentive” (ปัจจัยเสริมแรงจูงใจ) มาช่วยเสริมแรง “motive” การกําหนดแผนกลยุทธ์จึงควรคํานึงถึงการส่งเสริมองค์ประกอบทั้งสาม ส่วนการประเมินผลที่ดีก็จะ วัดได้ว่าค่านิยมที่พึงประสงค์ได้เข้าไปส่วนหนึ่งในเป็นพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานอย่าง ครอบคลุมเพียงใดแล้ว และส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น ขาดที่คนกลุ่มใด และเกีย่ วพันกับองค์ประกอบใด ผล

การประเมินที่ดีจึงเป็นเสมือนเข็มทิศในการกําหนดแผนการดําเนินงานเสริมสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ เพื่อนําไปสู่วัฒนธรรมองค์กรเป้าหมายต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลําดับขั้นตอนการปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์

หมายเหตุ ƒ ƒ ƒ

ขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 สามารถประเมินผลได้จากแบบสํารวจ ขั้นตอนที่ 5 อาจประเมินผลด้วยแบบสํารวจหรือโดยการสังเกต ขั้นตอนที่ 6 ต้องอาศัยทั้งการสํารวจและการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์จะช่วยให้ทราบถึง ความคุ้มค่าของสิ่งที่ได้ดําเนินการไป และยืนยันว่าค่านิยมที่ระบุนั้นส่งเสริมกลยุทธ์หลักของ องค์กรมากน้อยเพียงใด

การเชื่องโยงค่านิยมสู่การปฏิบัติ

W-will ความตั้งใจแน่วแน่ให้บริการ

การฝึกอบรม ประชุม สัมมนา

การพัฒนาบุคลากร

E-empathy

ศึกษาดูงาน ศึกษาต่อ

ความเอาใจใส่ให้บริการ

C-convenience ความสะดวกของบริการ

กิจกรรม 5ส

WE CARE เราใสใจใหบริการ

A-accuracy

การจัดการความรู้

ความถูกต้องของบริการ

R-rapidness ความรวดเร็วของบริการ

E-efficiency ความมีประสิทธิภาพของบริการ

การลดระยะเวลาและขั้นตอน การปฏิบัติงาน

WE CARE เราใสใจใหบริการ

W-will

E-empathy

ความตั้งใจแน่วแน่ให้บริการ

ความเอาใจใส่ให้บริการ

การพัฒนาบุคลากร

การฝึกอบรม ประชุม สัมมนา เรื่องการเขียนขั้นตอนการทํางานและวิเคราะห์งาน กระบวนการคิด

Workflow stop

stay

start

การลดระยะเวลาและขั้นตอน การปฏิบัติงาน

การจัดการความรู้

ความเสี่ยง

ประมวลภาพโครงการพัฒนาบุคลากรประจําปี 2555 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริ มสร้างค่านิยมของสํานักหอสมุดกลาง”   ระหว่างวันที่ 7-8  พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมลมทะเลชาเลต์ (แหลมแม่ พิมพ์) อําเภอแกลง จังหวัดระยอง    

 

คณะกรรมการดําเนินโครงการพัฒนาบุคลากรฯ เดินทางล่วงหน้ าเพือเตรี ยมงาน 

 

ลงทะเบียนและรับเอกสาร      

 

 

คณะกรรมการฝ่ ายลงทะเบียน     

  

อาจารย์สาโรช เมาลานนท์

นางวนิดา วงศ์วฒ ั นะ 

ผู้อํานวยการสํานักหอสมุดกล่าวเปิ ดการสัมมนา

รองผู้อํานวยการฝ่ ายวิชาการและแผน ประธานกรรมการฝ่ ายกิจกรรม  

     

  ถ่ายภายร่ วมกัน  

   

แนะบุคลากรใหม่

 

บุคลากร มศว องครักษ์

 

ภายในห้องสัมมนา  

 

 

   

 

สัมมนากลุ่มย่อยการใช้เทคนิค 3S  

   

 

 

ตัวแทนของแต่ละกลุ่มรายงานการใช้เทคนิค 3S

   

     

ตัวแทนของแต่ละกลุ่มรายงานการใช้เทคนิค 3S

 

                               

 

 

   

ตัวแทนของแต่ละกลุ่มรายงานการใช้เทคนิค 3S    

     

           

สมาชิกสีขาว

สมาชิกสีส้ม

 

สมาชิกสีฟ้า

   

 

สมาชิกสีมวง

กองเชียร์สีม่วง

คณะกรรมการดําเนินโครงการฯ เตรียมสนาม สําหรับกิจกรรมสันทนาการ

กองเชียร์สีขาว

         

       

กองเชียร์สีฟ้า

กองเชียร์สีส้ม

 

นักกีฬาชักเย่อสีส้ม

 

นักกีฬาชักเย่อสีม่วง

 

นักกีฬาชักเย่อสีขาว

วิ่งกะลา

แข่งเรือบก

   

รางวัลกิจกรรมทุกประเภท

ผูรวบรวม นางมาลินี ภูหมั่นเพียร  นางปทมพร ยุวพรพงศกุล 

View more...

Comments

Copyright � 2017 SILO Inc.